







ออนไลน์ : 28
สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ตำบลบุ่งเลิศ อยู่ห่างจากอำเภอเมยวดี ประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมหลักที่ใช้ติดต่อกับอำเภอเมยวดี ได้ 2 ทาง คือ สายบ้านหนองเมย ตำบลเมยวดี ไปทางบ้านโป่ง และอีกเส้นทางหนึ่งก็คือผ่านบ้านหนองสองห้อง ตำบลเมยวดี ไปทางบ้านบุ่งเลิศ เส้นทางการคมนาคมเป็นถนนลาดยางทั้งหมด
อาณาเขต
ตำบลบุ่งเลิศ มีเนื้อที่ประมาณ 17,500 ไร่ หรือ 28 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้
ด้านทิศเหนือ
-จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำห้วยแดงไปทางทิศตะวันออกถึงกึ่งกลางลำห้วยแดง เป็นเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๑๐๐๑๗๐ รวมระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร
-จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำห้วยแดงซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างตำบลบุ่งเลิศ
กับตำบลเหล่าไฮงาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปทางทิศตะวันออกถึงกึ่งกลางลำห้วยแดง
เป็นหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัดที่ VD ๑๑๐๑๗๘ รวมระยะทางประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร
-จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นเรียบตามแนวกึ่งกลางลำห้วยแดงไปทางทิศตะวันออกถึงกึ่งกลาง
ลำห้วยแดงทางทิศตะวันออกบ้านบุ่งเลิศเป็นจุดสิ้นสุด เป็นหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัดที่ VD ๑๕๒๑๖๑ รวมระยะทางประมาณ ๓,๐๐๐ เมตร รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ ๔,๕๐๐ เมตร
ด้านทิศตะวันออก
-จากหลักเขตที่ ๔ เป็นเส้นเลียบตามแนวคันนาที่ดินราษฎรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นเส้น
แบ่งระหว่างตำบลบุ่งเลิศกับตำบลเมยวดี อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงบริเวณทุ่งนาราษฎรเป็นหลัก เขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๑๕๐๑๖๐ รวมระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตร
-จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นเลียบตามแนวคันนาที่ดินราษฎรไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้บ้านเลิศสมบูรณ์ถึงบริเวณทุ่งนาราษฎรเป็นหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๑๓๐๑๕๑ รวมระยะทางประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร
-จากหลักเขตที่ ๖ เป็นเส้นเลียบไปตามแนวคันนาที่ดินราษฎรไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงกึ่งกลาง ท่อลอดเหลี่ยมถนนลาดยางสายบ้านโป่ง-บ้านหนองเมย เป็นจุดสิ้นสุด เป็นหลักเขตที่ ๗ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๐๙๕๑๔๕ รวมระยะทางประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ ๓,๕๐๐ เมตร
ด้านทิศใต้
- จากหลักเขตที่ ๗ เป็นเส้นเลียบตามแนวคันนาที่ดินราษฎรไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเส้นแบ่งระหว่างตำบลบุ่งเลิศกับตำบลชมสะอาด อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงบริเวณกลางทุ่งนาราษฎรทางด้านทิศตะวันออกบ้านคำนางตุ้ม ตำบลบุ่งเลิศ เป็นหลักเขตที่ ๘ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๑๘๐๑๔๒ รวมระยะทางประมาณ ๗๐๐ เมตร
- จากหลักเขตที่ ๘ เป็นเส้นเลียบตามแนวคันนาที่ดินราษฎรไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงบริเวณกลางทุ่งนาราษฎร เป็นหลักเขตที่ ๙ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๐๘๔๑๓๙ รวมระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตร
-จากหลักเขตที่ ๙ เป็นเส้นเลียบตามแนวคันนาที่ดินราษฎรไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงบริเวณกลางทุ่งนาราษฎรด้านทิศใต้บ้านคำนางตุ้ม ตำบลบุ่งเลิศ เป็นหลักเขตที่ ๑๐ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๑๖๐๑๓๗ รวมระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร
- จากหลักเขตที่ ๑๐ เป็นเส้นเลียบตามแนวคันที่ดินราษฎรไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตัดผ่านถนนลาดยางสายบ้านคำนางตุ้ม-บ้านชมสะอาด ถึงบริเวณลำน้ำยังบรรจบลำห้วยแดงเป็นจุดสิ้นสุด เป็นหลักเขตที่ ๑๑ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๐๓๙๑๕๐ รวมระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ ๔,๐๐๐ เมตร
ด้านทิศตะวันตก
-จากหลักเขตที่ ๑๑ เป็นเส้นเลียบตามแนวกิ่งกลางลำห้วยแดงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือบ้าน
โนนสวรรค์ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างตำบลบุ่งเลิศกับตำบลจุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงกึ่งกลางห้วยแดง เป็นหลักเขตที่ ๑๒ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๐๗๕๑๖๑ รวมระยะทางประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร
- จากหลักเขตที่ ๑๒ เป็นเส้นเรียบตามแนวกึ่งกลางลำห้วยแดงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงกึ่งกลางลำห้วยแดงด้านทิศด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้บ้านโป่ง ตำบลบุ่งเลิศ เป็นจุดบรรจบหลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพิกัด VD ๐๙๑๑๗๑ รวมระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร รวมระยะทางทิศตะวันตกประมาณ ๓,๕๐๐ เมตร แสดงได้ดังภาพ

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลบุ่งเลิศ มีพื้นที่อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นที่ราบสูงโดยทั่วไปเป็นที่ดอนสูงๆ ต่ำๆ ความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับปานกลางในอดีตมีป่าไม้หนาแน่นปัจจุบันถูกบุกทำลายไปเป็นจำนวนมากสาเหตุเพราะราษฎรได้ใช้ที่ดินประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมีอากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อนและมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะดินในพื้นที่ตำบลบุ่งเลิศเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนี่ยวปนทราย สีของดินเป็นสีน้ำตาล สีเทาเข้ม เป็นดินลึกมาก ดินมีการละลายน้ำปานกลาง ดินมีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ถึงต่ำสภาพพื้นที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่น
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
การเมืองการปกครองแต่เดิมเป็นการปกครองแบบสภาตำบล ได้รับจัดตั้งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 สภาตำบลบุ่งเลิศ ได้รับจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2538 การบริหารงานช่วงแรกเป็นการบริหารงานในรูปของคณะกรรมการ โดยมีกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้บริหารตามโครงสร้างการบริหารงานในช่วงนี้จึงเป็นการบริหารงานแบบค่อยเป็นค่อยไป นายอำเภอเป็นพี่เลี้ยง การจัดการส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สร้างถนน น้ำประปา โดยยังไม่คำนึงถึงการพัฒนาด้านอื่นๆ มากนัก เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งเลิศ โดยมีนายสวัสดิ์ สุวรรณไตร เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งเลิศ เป็นคนแรก นายจันทร์ทอง เมืองฮาม เป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งเลิศ ดำรงตำแหน่งจนถึง พ.ศ.2544 หลังจากหมดวาระการดำรงตำแหน่ง ได้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อปี พ.ศ.2544 นายสาคร พลซื่อ ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งเลิศ นายบัญทัย สุวรรณไตร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งเลิศ หลังจากหมดวาระมีการเลือกตั้งใหม่ พ.ศ.2548 นายสมัย พ้นทุกข์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งเลิศ โดยมีนายจันทร์ทอง เมืองฮาม ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งเลิศ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่งเลิศ ได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลบุ่งเลิศตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล และ มีนายกเทศมนตรีตำบลเป็นผู้บริหารตำบลบุ่งเลิศมีพื้นที่การปกครอง 9 หมู่บ้าน โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 เขต โดยมีสมาชิกสภาเทศบาลตำบลได้ เขตละ 6 คน รวมเป็น 12 คน และได้ทำการย้ายสำนักงานจากบ้านใหม่ไฟฟ้า หมู่ 2 มาตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 บ้านคำอุดม โดยมี นายสาคร พลซื่อ ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลบุ่งเลิศ นายบัญทัย สุวรรณไตร ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ ดำรงตำแหน่งจนครบวาระเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2557 นายถอ เหลาทอง ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลบุ่งเลิศ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน
ตำบลบุ่งเลิศมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการปกครองตามระบบของทางราชการ สถานการณ์ทางการเมือง การหาเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นมีการหาเสียงเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยและระเบียบกฎหมาย การเลือกตั้งที่เกี่ยวข้องมีการแบ่งเขตการปกครองแยกออกเป็น 9 หมู่บ้าน รายละเอียดดังนี้
หมู่ที่ |
จำนวน ครัวเรือน |
จำนวนประชากร | ผู้นำท้องที่ |
||
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม (คน) |
|||
หมู่ที่ 1 บ้านบุ่งเลิศ | 140 | 218 | 240 | 458 | นายวุฒินันท์ สีพะยอม |
หมู่ที่ 2 บ้านใหม่ไฟฟ้า | 116 | 192 | 186 | 378 | กำนันตำบลบุ่งเลิศ นายสุริยันต์ ชัยฤทธิ์ |
หมู่ที่ 3 บ้านโป่ง | 240 | 378 | 405 | 783 | นายจำเนียร สุทธิสินธ์ |
หมู่ที่ 4 บ้านคำอุดม | 117 | 224 | 235 | 459 | นายวิระชัย สายรัตน์ |
หมู่ที่ 5 บ้านคำนางตุ้ม | 279 | 524 | 497 | 1,021 | นายพูลศรี วิชกรรม |
หมู่ที่ 6 บ้านโนนสวรรค์ | 113 | 226 | 208 | 434 | นางสุนันทา ทานะเวช |
หมู่ที่ 7 บ้านบุ่งเลิศเหนือ | 114 | 210 | 181 | 391 | นายณเรศ พะยอม |
หมู่ที่ 8 บ้านหนองม้า | 151 | 278 | 295 | 573 | นางสังวาล กองอุดม |
หมู่ที่ 9 บ้านเลิศสมบูรณ์ | 130 | 193 | 168 | 361 | นายเฉลิมศักดิ์ สุวรรณไตร |
รวม | 1,400 | 2,443 | 2,415 | 4,858 |
(ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักทะเบียนอำเภอเมยวดี ณ ธันวาคม 2567)
2.2 การเลือกตั้ง
แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต จำนวน 1,214 ครัวเรือน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3,921 คน แยกเป็นชาย จำนวน 1,917 คน หญิง จำนวน 2,004 คน จำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2,915 คน ดังนี้
เขตที่ 1 จำนวน 5 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านบุ่งเลิศ หมู่ที่ 2 บ้านใหม่ไฟฟ้า หมู่ที่ 7 บ้านบุ่งเลิศเหนือ หมู่ที่ 9 บ้านเลิศสมบูรณ์ หมู่ที่ 3 บ้านโป่ง จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,460 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 694 คน หญิง จำนวน 766 คน
เขตที่ 2 จำนวน 5 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบด้วย หมู่ที่ 4 บ้านคำอุดม หมู่ที่ 8 บ้านหนองม้า หมู่ที่ 5 บ้านคำนางตุ้ม เขตเลือกตั้งที่ 1 หมู่ที่ 5 บ้านคำนางตุ้ม เขตเลือกตั้งที่ 2 หมู่ที่ 6 บ้านโนนสวรรค์ จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,455 คน แยกเป็นชาย จำนวน 711 คน หญิง จำนวน 744 คน
(ข้อมูลการเลือกตั้ง ณ วันที่ 28 มีนาคม 2564)